วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวทางการสอบสวนบุคคล

คู่มือการปฏิบัติงาน



ชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงาน
(Community of Practice : CoP)

กลุ่ม
แนวทางการสอบสวนบุคคล (ด้านทะเบียนราษฎร)



จัดทำโดย
สมาชิกกลุ่ม
แนวทางการสอบสวนบุคคล (ด้านทะเบียนราษฎร)
ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางกอกน้อย
โทร. 0-2424-0056 ต่อ 5661-3
โทรสาร 0-2433-0773

คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง แนวทางการสอบสวนบุคคล (ด้านทะเบียนราษฎร)

งานทะเบียน

ความหมาย “ทะเบียน” บัญชีจดลักษณะจำนวนคน จำนวนสัตว์หรือจำนวนสิ่งของตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับประชาชนพลเมือง
(ข้อมูลอ้างอิง : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน)
การทะเบียนราษฎร

หมายความว่า “งานทะเบียนต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติ อาทิเช่น
1. ทะเบียนบ้าน
2. ทะเบียนคนเกิด
3. ทะเบียนคนตาย
4. การย้ายที่อยู่
5. การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน
6. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
7. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร
8. การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร

งานทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน

1. การย้ายที่อยู่ (กรณีบุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง)
2. การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน
3. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
4. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร

การสอบสวน

 เป็นกระบวนการค้นหาความจริงอย่างหนึ่งที่บุคคลหรือคณะบุคคลที่ต้องการแสวงหาความจริง โดยส่วนมากจะใช้วิธีสอบสวนหรือสอบถามจากผู้รู้ซึ่งผู้รู้หรือผู้ที่จะให้เรารับรู้ว่าความจริงคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร มีใครเกี่ยวข้องและผู้เกี่ยว ข้องอยู่ในฐานะอะไร
การสอบสวน หมายความรวมถึง การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนิน การทั้งหลาย เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ ว่ามีมูลความจริงประการใด


ข้อเท็จจริง

          ได้แก่ ข้ออ้างที่บุคคลอ้างถึง ซึ่งอาจเป็นความจริงหรือความเท็จจนกว่าจะสรุปได้ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องจริงเรื่องใดเป็นเรื่องเท็จ

บุคคลน่าเชื่อถือ

(1)    ทายาทโดยธรรม เช่น บิดา-มารดา, บุตร, คู่สมรส ฯลฯ
(2)    ญาติพี่น้อง ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ
(3)    เจ้าบ้าน
(4)    ผู้นำชุมชน/ข้าราชการที่รู้จัก
(5)    ผู้รู้เห็นการเกิด-การตาย
(6)    เพื่อนบ้านคนสนิท/ข้างเคียง
(7)    ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ

ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          1. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร  พ.ศ. 2534
          2. ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
              (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551)


การแจ้งการย้ายที่อยู่

          เมื่อผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านย้ายออกจากบ้านที่ตนมีชื่อยู่ ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพหรือย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น จะต้องแจ้งย้ายออกต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออกจากบ้านหรือเมื่อมีคนย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ผู้มีหน้าที่แจ้งก็จะต้องแจ้งการย้ายที่เข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเข้ามาอยู่ในบ้าน
          นอกจากนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะย้ายเข้าอยู่ในบ้าน ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กับบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ผู้ย้ายที่อยู่สามารถยื่นคำร้องขอแจ้งการย้ายออกและย้ายเข้าในคราวเดียวกันได้ที่สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่บ้านหลังที่จะย้ายเข้าไปอยู่อาศัยนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ โดยผู้ย้ายที่อยู่ไม่ต้องกลับไปแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนที่บ้านเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ เรียกว่า “การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง”
          การแจ้งย้ายที่อยู่นั้น ผู้มีหน้าที่แจ้งย้ายที่อยู่จะมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
          “ทะเบียนบ้านกลาง” ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้
            (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 46
          - ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 85
1. ผู้มีหน้าที่แจ้ง
          (1) ผู้ขอย้ายซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
          (2) บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครอง (กรณีผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์)
          (3) ผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแจ้งการย้ายออกได้ด้วยตนเอง เนื่องจาก เป็นคนพิการทางกายจนเดินไม่ได้ หรือเป็นผู้เจ็บป่วยทุพพลภาพ หรือกรณีจำเป็นอื่น)
2. สำนักทะเบียนที่แจ้ง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องทีที่ผู้ขอย้ายมีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) บัตรประจำตัวผู้แจ้ง หรือ
          (2) บัตรประจำตัวผู้ขอย้ายซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
          (3) หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ขอย้าย (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
          (4) บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
          (5) บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมหลักฐานการแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน


          (6) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
ประชาชน หรือหลักฐานอื่นแสดงตน)
4. นายทะเบียน
          (1) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานผู้แจ้ง
          (2) ตรวจสอบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้ขอแจ้งย้ายเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง
          (3) ลงรายการในใบแจ้งย้ายที่อยู่
          (4) จำหน่ายรายการผู้ขอย้ายในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
          (5) เพิ่มชื่อผู้ขอย้ายในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า (กรณีบ้านที่ย้ายเข้าอยู่ในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน)
          (6) มอบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ผู้แจ้ง (กรณีย้ายออกเพื่อไปเข้าบ้านที่อยู่เขตท้องที่สำนักทะเบียนอื่น)
          (7) มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน

          การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านสามารถใช้ได้ทั้งกรณีของคนสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยหรือนอกราชอาณาจักร มีหลายกรณี ได้แก่
          “คนสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ”
          (1) กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ.2499 โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 93)
          (2) กรณีขอเพิ่มชื่อโดยใช้สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 94)
          (3) กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือเกิดในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนสัญชาติไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 95)
          (4) กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่าง ประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96)
          (5) กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศโดยใช้หนังสือเดินทางของต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity) ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และมีหลักฐานเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96/1)
           (6) กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประ เทศขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96/2)
          (7) กรณีบุคคลอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 97)
          (8) กรณีขอเพิ่มชื่อเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วย งานเอกชน ที่อยู่นอกประกาศกระทรวง มหาดไทยออกตามมาตรา 19/1 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 98)
          (9) กรณีบุคคลที่ได้มีการลงรายการ “ตายหรือจำหน่าย” ในทะเบียนบ้านฉบับที่มีเลขประจำตัวประชาชน เนื่องจากแจ้งตายผิดคนหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริงขอเพิ่มชื่อ
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 99)
          (10) กรณีคนที่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ หรือโดยการแปลงสัญชาติขอสัญชาติไทยตามสามี หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 102)
          “คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ”
          (1) กรณีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและเคยมีชื่อในทะเบียนบ้าน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 100)
          (2) กรณีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้รับการผ่อนผันให้พักอยู่อาศัยในราชอาณาจักร
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 105)
          (3) กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 106)

คนสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ
(1) กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ.2499 โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 93)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานทะเบียนที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น บัญชีสำมะโนครัว ทะเบียนสมรส เป็นต้น
          (4) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(2) กรณีขอเพิ่มชื่อโดยใช้สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 94)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          (1) กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
          (2) กรณีเพิ่มชื่อตามใบแจ้งการย้ายที่อยู่แบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
          (3) กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม  ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานทะเบียนที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) ได้แก่ สูติบัตรหรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบเดิม ตามแต่กรณี
          (4) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(3) กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือเกิดในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนสัญชาติไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 95)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานทะเบียนที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทางหลักฐานการเกิด
          (4) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(4) กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่าง ประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้ที่ขอเพิ่มชื่อแต่ถ้าผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ให้ บิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ยื่นคำร้อง
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานการเกิดของผู้ที่จะขอเพิ่มชื่อ ได้แก่ หลักฐานการจดทะเบียนการเกิด (สูติบัตร) ที่ออกให้โดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศที่บุคคลนั้นเกิด ซึ่งได้แปลและรับรองคำแปลว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ ถ้าหลักฐานการเกิดไม่ปรากฏรายการสัญชาติของบิดา มารดา จะต้องเพิ่มชื่อหลักฐานทะเบียนของบิดา มารดาที่ปรากฏรายการสัญชาติไทยเพื่อยืนยันการได้สัญชาติไทยของผู้ขอเพิ่มชื่อ
          (4) หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ของผู้ขอเพิ่มชื่อ
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(5) กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศโดยใช้หนังสือเดินทางของต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity) ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และมีหลักฐานเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96/1)

1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ ได้แก่ หนังสือเดินทางของต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity) ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และหลักฐานเอกสารราชการ
          (4) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(6) กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประ เทศขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 96/2)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บิดา มารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้ปกครองของผู้ขอเพิ่มชื่อ มีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้รับมอบอำนาจจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ของผู้ที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ที่มีประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร (กรณีผู้ขอเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)
หมายเหตุ : ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นญาติพี่น้องหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีความประสงค์ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) สูติบัตรที่ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย หรือเอกสารรับรองการเกิดที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองการแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศไทย
          (4) หนังสือมอบอำนาจของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ที่ประสงค์ขอมีรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แล้วแต่กรณี ซึ่งควรดำเนินการผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย
          (5) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
          (6) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(7) กรณีบุคคลอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง   (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 97)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
          (4) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(8) กรณีขอเพิ่มชื่อเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วย งานเอกชน ที่อยู่นอกประกาศกระทรวง มหาดไทยออกตามมาตรา 19/1 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 98)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้อุปการะ หรือ หน่วยงานที่อุปการะ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานการรับตัวเด็กไว้ในการอุปการะ (ถ้ามี)
          (4) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กที่ขอเพิ่มชื่อ(ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา จดหมาย ภาพถ่าย ฯลฯ
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(9) กรณีบุคคลที่ได้มีการลงรายการ “ตายหรือจำหน่าย” ในทะเบียนบ้านฉบับที่มีเลขประจำตัวประชาชน เนื่องจากแจ้งตายผิดคนหรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริงขอเพิ่มชื่อ
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 99)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านก่อนถูกจำหน่าย
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้อุปการะ หรือ หน่วยงานที่อุปการะ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) ทะเบียนบ้านที่มีบันทึกรายการตายหรือจำหน่ายของบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ
          (4) มรณบัตร (กรณีบุคคลที่ถูกจำหน่ายตาย) หรือใบรับรองการตาย
          (5) เอกสารที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
(10) กรณีคนที่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ หรือโดยการแปลงสัญชาติขอสัญชาติไทยตามสามี หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 102
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน บิดา มารดา หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) เอกสารที่ราชการออกให้ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ได้สัญชาติไทย (ถ้ามี) เช่น หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติ ประกาศกระทรวงมหาดไทย สำเนาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
          (4) หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยสำเนาทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หลักฐานการศึกษา เป็นต้น
          (5) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

(11) คนที่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ซึ่งไม่อาจพิจารณาสั่งการเป็นอย่างอื่นขอเพิ่มชื่อ
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน บิดา มารดา หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
          (3) หลักฐานทะเบียนที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น สำมะโนครัว ทะเบียนสมรส ฯลฯ
          (4) เอกสารทะเบียนราษฎร (ถ้ามี) เช่น ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) ทะเบียนประวัติ (ท.ร.38/1 หรือ ท.ร.38 ข)
          (5) หลักฐานที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา เป็นต้น
          (6) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ
(1) กรณีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านขอเพิ่มชื่อ
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 100)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
          (3) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ขอเพิ่มชื่อ หรือหนังสือรับรองที่หน่วยงานของรัฐออกให้เพื่อรับรองการให้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่
          (4) สำเนาทะเบียนบ้านที่คนต่างด้าวผู้นั้นเคยมีชื่อปรากฏอยู่ (ถ้ามี)
          (5) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือสำเนาทะเบียนประวัติ (ถ้ามี)
          (6) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ

(2) กรณีคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 101)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน บิดา มารดา หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
          (3) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ขอเพิ่มชื่อ หรือหนังสือรับรองที่หน่วยงานของรัฐออกให้เพื่อรับรองการให้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่
          (4) สำเนาทะเบียนบ้านที่คนต่างด้าวผู้นั้นเคยมีชื่อปรากฏอยู่ (ถ้ามี)
          (5) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือสำเนาทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ถ้ามี)
          (6) พยานบุคคล ได้แก่ เจ้าบ้าน




(3) กรณีคนต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทางเข้ามาในประเทศไทยซึ่งระยะเวลาการอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยยังไม่สิ้นสุด มีความประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.13)
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 พ.ศ.2545) ข้อ 106)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
          (3) หนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อพร้อมสำเนาซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยสถาบันที่น่าเชื่อถือ
          (4) พยานบุคคล ได้แก่ เจ้าบ้าน

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร

          เอกสารการทะเบียนราษฎรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใบรับแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ สูติบัตร ทะเบียนคนเกิด มรณบัตร ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติ หรือเอกสารเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ถ้ามีการบันทึกหรือลงรายการใด ๆ ไว้ไม่ถูกต้องไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยผิดพลาดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำทุจริต แจ้งข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาปกปิดหรือปิดบังข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง นายทะเบียนสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารดังกล่าวให้ถูกต้องได้
          อย่างไร สำหรับการแก้ไขเอกสารทะเบียนราษฎรบางประเภทมีข้อจำกัดว่าไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่เกิด ขึ้นโดยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเดิมภายหลังการจัดทำเอกสารดังกล่าวมาเป็นหลักฐานในการแก้ไขได้ เช่น การแก้ไขรายการชื่อบิดา มารดา หรือชื่อเด็กในสูติบัตรอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนชื่อหรือแก้ไขรายการสัญชาติของมารดาในสูติบัตรของบุตร เนื่องจากได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทยภายหลังจากบุตรเกิด เป็นต้น

เอกสารการทะเบียนราษฎรที่สามารถขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการได้คือ
1. ทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนบ้านกลาง ทะเบียนประวัติ
2. สูติบัตร และทะเบียนคนเกิด
3. มรณบัตร และทะเบียนคนตาย
4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่
5. อื่น ๆ เช่น รายการบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          1. กรณีขอแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนบ้านกลาง และทะเบียนประวัติ
          - ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ร้องมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนประวัติ
          (กรณีแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร หากสูติบัตรหรือมรณบัตรที่ขอแก้ไข ออกให้โดยสำนักทะเบียนอื่น ให้สำนักทะเบียนที่รับคำร้องทำหนังสือแจ้งสำนักทะเบียนที่ออกเอกสาร เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนคนเกิด หรือทะเบียนคนตายให้ถูกต้องตรงกันต่อไป)
          2. กรณีขอแก้ไขรายการในทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และใบแจ้งการย้ายที่อยู่
          - ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่จัดทำทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และใบแจ้งการย้ายที่อยู่
          (กรณีแก้ไขรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ถ้าเป็นรายการวันเดือนปีเกิดหรือสัญชาติ ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารดังกล่าว แต่ใช้วิธียกเลิกเอกสารเดิมแล้วออกเอกสารให้ใหม่)
          3. กรณีบุคคลในทะเบียนบ้านอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สามารถแก้ไขรายการคำนำหน้าชื่อบุคคลนั้น ในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านจากเด็กหญิงหรือเด็กชาย เป็นนาย หรือนางสาว แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องให้ผู้ เกี่ยวข้องยื่นคำร้อง



2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่
          1. กรณีขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือเจ้าของรายการที่ขอแก้ไข หรือบิดามารดา (กรณีเจ้าของรายการที่ขอแก้ไขยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือผู้ที่ได้รับมอบ หมายจากบุคคลดังกล่าว
          2. กรณีขอแก้ไขรายการในสูติบัตร ทะเบียนคนเกิด ผู้ยื่นคำร้องได้แก่ เจ้าของรายการที่ขอแก้ไขราย การ หรือบิดามารดา (กรณีเจ้าของรายการที่ขอแก้ไขยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
          3. กรณีขอแก้ไขรายการในมรณบัตร ทะเบียนคนตาย ผู้ยื่นคำร้องได้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้มีนิติสัมพันธ์กับผู้เสียชีวิต

3. หลักฐานที่ใช้อ้างในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการเอกสารการทะเบียนราษฎร
          ได้แก่ เอกสารที่ทางราชการออกให้ไม่ว่าเอกสารนั้นจะจัดทำขึ้นก่อนหรือหลังการจัดทำเอกสารทะเบียนราษฎรนั้น ๆ แต่ควรเป็นเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกันสามารถอ้างอิงกันได้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปี 2499 ฉบับปี 2515 ฉบับปี 2526 และฉบับปี 2530 ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว หลักฐานการรับราชการทหาร เป็นต้น
          กรณีไม่มีหลักฐานเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง ให้สอบสวนเจ้าบ้านและพยานบุคคลที่น่า เชื่อถือ

4. ผู้มีอำนาจอนุมัติ
          4.1 กรณีแก้ไขรายการ ซึ่งมิใช่รายการสัญชาติ ได้แก่
                   (1) นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
                            - กรณีมีหลักฐานเอกสารราชการมาแสดง
                   (2) นายอำเภอ
                            - กรณีไม่มีหลักฐานเอกสารราชการมาแสดงต้องสอบสวนพยานบุคคล
          4.2 กรณีแก้ไขรายการสัญชาติ ได้แก่
                   (1) นายอำเภอ
                            - กรณีแก้ไขรายการของเจ้าของประวัติจากสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติไทย
                   (2) นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
                            - กรณีแก้ไขรายการสัญชาติของบิดามารดาของเจ้าของประวัติจากสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติไทย เนื่องจาก คัดลอกรายการผิดพลาดหรือบิดามารดา ได้สัญชาติไทยหรือได้แปลงสัญชาติเป็นไทย
                            - กรณีแก้ไขรายการสัญชาติจากสัญชาติไทยหรือจากไม่มีสัญชาติหรือจากสัญชาติอื่น เป็นสัญชาติไทย เนื่องจาก การคัดลอกรายการผิดพลาดหรือลงรายการผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือการเสียสัญชาติไทย
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551) ข้อ 115 - 116)


การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน

          เนื่องจากการจัดทำเอกสารทะเบียนบ้านของประเทศไทยมีประวัติและวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานตั้ง แต่ก่อนปี พ.ศ.2500 โดยการสำรวจจัดทำบัญชีสำมะโนครัวแล้วนำข้อมูลมาบันทึกจัดทำทะเบียนบ้าน ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนแบบพิมพ์ทะเบียนบ้านใหม่เมื่อปี พ.ศ.2515 และปี พ.ศ.2526 โดยการคัดลอกรายการบุคคลจากทะเบียนบ้านฉบับเดิม จนกระทั่งมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดพิมพ์ทะเบียนบ้านที่สำนักทะเบียนกลางเมื่อปี พ.ศ.2531 แล้วพัฒนาไปสู่ระบบออนไลน์เริ่มพิมพ์ทะเบียนบ้านแบบสมุดพกที่สำนักทะเบียนต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซึ่งการดำเนินการตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงระยะเวลาก่อนที่จะมีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ครอบคลุมทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ มีปัญหาเรื่องระบบการตรวจสอบข้อมูลรายการบุคคลไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาข้อผิดพลาดหลายประการ เช่น บุคคลที่มีชื่อซ้ำซ้อนในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 รายการ มีการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่ถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 10 ได้กำหนดหลักการและแนวทางปฏิบัติรวมถึงการให้อำนาจนายทะเบียนเกี่ยวกับการตรวจสอบ แก้ไขเปลี่ยนแปลง ยกเลิกเพิกถอนและ จำหน่ายรายการที่ไม่ถูกต้อง
การจำหน่ายรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน มีหลายกรณี ได้แก่
1. กรณีบุคคลมีชื่อซ้ำในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
2. กรณีบุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ
3. กรณีตายแต่ยังไม่ได้จำหน่ายตาย
4. กรณีบุคคลสาบสูญ
5. กรณีบุคคลสัญชาติไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตายในต่างประเทศ

(1) กรณีบุคคลผู้มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551) ข้อ 109)
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
กรณีผู้มีชื่อซ้ำอยู่ในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน
- สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีบุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
กรณีผู้มีชื่อซ้ำอยู่ต่างสำนักทะเบียนเดียวกัน
- สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีบุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจหรือบุคคลที่มีชื่อซ้ำ
3. หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีรายการบุคคลซ้ำกัน
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งหรือของเจ้าบ้าน




4. นายทะเบียน
          (1) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
          (2) สอบสวนเจ้าบ้านหรือคนที่มีชื่อซ้ำ โดยให้ยืนยันที่อยู่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
          (3) จำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้อาศัยอยู่ตามแบบพิมพ์ ท.ร.97 ก. โดยให้ประทับคำว่า “จำหน่าย” ด้วยสีน้ำเงินหน้ารายการบุคคลและให้หมายเหตุในช่องย้ายออกไปที่ในทะเบียนบ้านว่า “ชื่อซ้ำตามคำร้องที่.....ลงวันที่.....” แล้วให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
          (4) มอบสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมหลักฐานให้แก่ผู้ร้องต่อไป

(2) กรณีบุคคลผู้มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551) ข้อ 110)
กรณีสำนักทะเบียนพบเหตุ
นายทะเบียน
          เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าการมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 หรือ ท.ร.13) ของบุคคลใดเป็นการดำเนินการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือโดยอำพรางข้อเท็จจริง หรือมีรายการข้อ ความผิดพลาดจากความเป็นจริง ให้ดำเนินการดังนี้
          1. สอบสวนพยานบุคคลและพยานเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการมีชื่อในทะเบียนบ้านของบุคคลดังกล่าว
          2. รวบรวมหลักฐานทั้งหมดพร้อมความเห็นเสนอนายอำเภอพิจารณา
          3. เมื่อได้รับแจ้งความเห็นจากนายอำเภอว่ามีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น สั่งระงับหรือการเคลื่อนไหวรายการทะเบียนราษฎรของบุคคลนั้นไว้ก่อน
          4. แจ้งคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวรายการทะเบียนราษฎรให้เจ้าของรายการทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้มีโอกาสโต้แย้งหรือชี้แจงข้อเท็จจริง ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
          5. กรณีนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการตาม ข้อ 4 แล้วมีคำสั่งจำหน่ายรายการทะเบียนหรือคำสั่งเพิกถอนหลักฐานทะเบียนที่มีการดำเนินการไม่ถูกต้องให้หมายเหตุ การจำหน่ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านในช่องย้ายออกไปที่ว่า “จำหน่ายตามคำร้องที่.....ลงวันที่.....” หรือ “หนังสือที่.....ลงวันที่.....” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
          6. แจ้งคำสั่งการจำหน่ายรายการบุคคลให้เจ้าของรายการที่ถูกจำหน่ายทราบภายใน 7 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนได้ภายใน 15 วัน
          ถ้านายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและสอบสวนพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องปรากฏชัดเจนว่าการมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านของบุคคลใดมีการกระทำความผิดตามกฎหมาย เช่น การปลอมหรือใช้เอกสารปลอม เป็นต้น หรือแอบอ้างใช้ชื่อและรายการบุคคลอื่นให้ดำเนินการ ดังนี้
          1. จำหน่ายรายการทะเบียนหรือเพิกถอนหลักฐานทะเบียนที่มีการทุจริตแล้วให้หมายเหตุ การจำ- หน่ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านในช่องย้ายออกไปที่ ว่า”จำหน่ายตามคำร้องที่.....ลงวันที่.....” หรือ “หนังสือที่.....ลงวันที่.....” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้

          2. ถ้าเป็นกรณีแอบอ้างใช้ชื่อและรายการบุคคลของผู้อื่นให้นายทะเบียนดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงรายการทะเบียนให้แก่เจ้าของรายการบุคคลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
          3. แจ้งคำสั่งการจำหน่ายรายการทะเบียนหรือเพิกถอนหลักฐานทะเบียนให้คู่กรณีทราบเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระบุเหตุผลซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วย ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อ พิจารณาและสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ สิทธิในการอุทธรณ์ การยื่นคำอุทธรณ์และระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ด้วย

(3) กรณีบุคคลในทะเบียนบ้านตายแต่ยังไม่ได้จำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551) ข้อ 111)
(4) กรณีมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นคนสาบสูญ
          (ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (รวมแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2551) ข้อ 111/1)
(5) กรณีคนสัญชาติไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตายในต่างประเทศ
1. สถานที่ยื่นคำร้อง
          สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
3. หลักฐานประกอบการแจ้ง
          (1) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ปรากฏชื่อคนตาย
          (2) บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
          (3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ตาย (ถ้ามี) เช่น สำเนาคำสั่งศาล หลักฐานการจดทะเบียนคนตาย (ถ้ามี) หรือ หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศนั้น ซึ่งได้แปลและรับรองว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่าง ประเทศ
          (4) หนังสือมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ได้รับมอบหมาย (ถ้ามี)
4. นายทะเบียน
          (1) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
          (2) สอบสวนเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่ยังปรากฏชื่อและรายการคนตายในทะเบียนบ้านถึงสาเหตุการตาย
          (3) จำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน โดยหมายเหตุในช่องย้ายออกไปที่ว่า “จำหน่ายตามคำร้องที่.....ลงวันที่.....” หรือ ประทับคำว่า “ตาย” สีแดง ไว้หน้ารายการตายพร้อมทั้งหมายเหตุในช่องย้ายออกไปที่ว่า “คำร้องที่.....ลงวันที่.....”  แล้วให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
          (4) มอบสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมหลักฐานให้แก่ผู้ร้อง

  
          เมื่อท่านต้องไปติดต่อกับหน่วยงานราชการเพื่อขอออกใบอนุญาตขออนุมัติ หรือขอออกใบรับรองในเรืองใดเรื่องหนึ่ง ท่านมีสิทธิตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ดังต่อไปนี้
1. สิทธิมีที่ปรึกษาหรือผู้ทำการแทน
          ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอออกใบอนุญาตหรือใบรับรองหรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งที่มีผลกระทบต่อท่าน ท่านอาจไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ กฎหมายจึงให้ท่านมีสิทธินำบุคคลอื่นที่มีความรู้ในเรื่องนั้น เช่น ทนายความ วิศวกร นักบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ มาพร้อมกับท่าน เพื่อให้คำแนะนำหรือช่วยชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ได้ นอกจากนี้ หากท่านไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองไม่ได้ ท่านมีสิทธิที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนท่านได้

2. สิทธิได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความเป็นกลาง
          ถ้าท่านเห็นว่าเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาเรื่องของท่านไม่มีความเป็นกลางท่านสามารถคัดค้านเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ให้เป็นผู้พิจารณาเรื่องของท่านและขอให้เปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งความไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่ อาจสืบเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่นั้นเป็นคู่สมรส ญาติ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ กับคู่กรณี หรือเป็นผู้ซึ่งมีเหตุอื่นใดที่มีสภาพร้ายแรง เช่น มีเหตุโกรธเคืองกับท่านมาก่อน

3. สิทธิที่จะได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ในการติดต่อเจ้าหน้าที่
          ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอใบอนุญาต ขออนุมัติ หรือใบรับรองต่าง ๆ นั้น อาจมีขั้นตอนการปฏิบัติหลายประการ กฎหมายจึงให้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ในกระบวนพิจารณาคำขอให้ท่านทราบและหากคำขอของท่านมีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่รู้ เจ้าหน้าที่จะต้องแนะนำให้ท่านแก้ไขข้อบกพร่องนั้น

4. สิทธิได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ในกรณีคำสั่งมีผลกระทบต่อตน
          หากเจ้าหน้าที่จะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของท่าน ท่านมีสิทธิได้รับแจ้งรายละเอียดและผลกระทบของคำสั่งจากเจ้าหน้าที่เสมอ เพื่อให้ท่านมีโอกาสได้ทราบและสามารถป้องกันสิทธิของตนก่อนที่จะมีคำสั่งในเรื่องนั้น เช่น การออกคำสั่งให้ปิดโรงงานจะต้องแจ้งให้เจ้าของโรงงานทราบ

5. สิทธิที่จะโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน
          ในกรณีที่ท่านประสงค์จะโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานใด ๆ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของท่าน ท่านสามารถนำพยานหลักฐานต่าง ๆ ยื่นประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ได้เสมอ เว้นแต่เป็นกรณีรีบด่วนหรือมีเหตุจำเป็นอื่นเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น

6. สิทธิที่จะได้ตรวจเอกสารของเจ้าหน้าที่
          ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอต่าง ๆ ของท่าน เจ้าหน้าที่ไม่มีความจำเป็นต้องปกปิดเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา เว้นแต่กรณีที่เป็นความลับเท่านั้น กฎหมายจึงให้ท่านมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ใช้ประกอบการพิจารณาได้ เพื่อให้ท่านตรวจสอบความถูกต้องและอาจโต้แย้ง ชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้
7. สิทธิได้รับทราบเหตุผลของคำสั่ง
          กรณีที่มีคำสั่งเป็นหนังสือ ท่านมีสิทธิที่จะได้รับทราบเหตุผลของเจ้าหน้าที่ อันประกอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณา และสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจของการออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ท่านทราบได้ว่าเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอโดยถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อันจะทำให้ท่านสามารถโต้แย้งคำสั่งของเจ้าหน้าที่ได้โดยถูกต้อง

8. สิทธิที่จะได้รับแจ้งวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งและสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่ง
          ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งให้ท่านปฏิบัติตามหรือมีคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของท่าน ท่านสามารถอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในคำสั่ง เจ้าหน้าที่จึงต้องแจ้งสิทธิการอุทธรณ์คำสั่ง พร้อมทั้งระบุวิธีการยื่นอุทธรณ์และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่ง และหากเจ้าหน้าที่ไม่แจ้งสิทธิและวิธีการอุทธรณ์ไว้ จะทำให้ระยะเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของท่านขยายเป็น 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งครั้งแรก

9. สิทธิในการขอให้พิจารณาใหม่
          ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งให้ท่านปฏิบัติตามหรือคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของท่าน หากท่านไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งภายในระยะที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ท่านอาจยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งได้ ต่อเมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ท่านต้องยื่นขอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งภายใน 90 วันนับแต่วันที่ท่านรู้เหตุที่ขอให้พิจารณาใหม่ได้

ข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา